วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ราชกิจจานุเบกษา พรบ.คอมพิวเตอร์

วันที่ 25 มกราคมราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2560 บังคับใช้หลังพ้นหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันประกาศ แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษปรับหรือจำคุก ฐานส่งข้อมูลก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับ หรือนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ บิดเบือน ลามก ตัดต่อภาพผู้อื่นให้เสียชื่อเสียง อับอาย รวมถึงมาตรการบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิด


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ราชกิจจานุเบกษา พรบ.คอมพิวเตอร์

สถานที่ท่องเที่ยว

ตลาดน้ำยอดฮิต!! ถือได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของจังหวัดสมุทรสงคราม ตลาดริมคลองอัมพวาแห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้วัดอัมพวันเจติยาราม (จอดรถที่วัดอัมพวันเจติยารามได้) ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ ในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ช่วงเวลา 12.00 น. – 20.00 น. ในคลองอัมพวาจะมีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือขายอาหารและเครื่องดื่ม เช่น หอยทอด ก๋วยเตี๋ยว อาหารทะเล กาแฟ โอเลี้ยง ขนมหวานต่าง ๆ และมีรถเข็นขายของบนบกด้วย บรรยากาศสบาย ๆ มีดนตรีเพื่อความเพลิดเพลินจากเสียงตามสายของชุมชนอัมพวา ท่านสามารถเดินเที่ยวชมตลาดหาซื้ออาหารรับประทาน และลงเรือไปชมหิ่งห้อยในยามค่ำคืนได้ ค่าบริการท่านละ 60-80 บาท
เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 7.9 km หรือ 14 นาที

ชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน : Firefly watching at night ล่องเรือชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน (Firefly watching at night)

กิจกรรมยอดนิยม! ทิ้งถ่วง หรือ หิ่งห้อย เป็นชื่อเรียกแมลงปีกแข็ง ทั่วทั้งโลกมีทิ้งถ่วงประมาณ 2,000 ชนิด นับว่าเป็นแมลงที่มีคุณลักษณะพิเศษ คือสามารถบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์และสมดุลของธรรมชาติได้ อีกทั้งยังมีมีแสงเรือง ๆ ที่ก้น ด้วยเหตุนี้นักท่องเที่ยวที่มายังจังหวัดสมุทรสงคราม จึงนิยมล่องเรือไปตามแหล่งธรรมชาติริมน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ เช่น ต้นลำพูที่อยู่ตามริมแม่น้ำ เพื่อดูแสงไฟของเจ้าแมลงหิ่งห้อยเหล่านี้ นับว่าเป็นกิจกรรมที่พลาดไม่ได้จริง ๆ ท่านสามารถไปล่องเรือชมหิ่งห้อยในยามค่ำคืนได้ โดยขึ้นเรือจากท่าเรือที่ตลาดน้ำอัมพวา ค่าบริการท่านละ 60-80 บาท หรือหากมาเป็นหมู่คณะ สามารถติดต่อเช่าเรือเหมาลำจากทางรีสอร์ทได้ โดยจะขึ้นเรือจากท่าน้ำหน้ารีสอร์ทกันเลย
รายละเอียดแพ็คเกจล่องเรือชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน คลิกที่นี่

วัดอัมพวันเจติยาราม : Wat Amphawan Chetiyaram Temple วัดอัมพวันเจติยาราม (Wat Amphawan Chetiyaram Temple)

วัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง อยู่ใกล้กันกับอุทยาน ร.๒ และตลาดน้ำอัมพวา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังวัดแห่งนี้เคยเป็นนิวาสสถานเก่าของหลวงยกกระบัตร (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และ คุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 เชื่อกันว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันเจติยาราม เดิมเป็นเรือนที่คุณนาคใช้เป็นที่คลอดคุณฉิมบุตรชาย ซึ่งต่อมาได้เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 8.6 km หรือ 15 นาที


อุทยาน รัชกาลที่ 2 (สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) : King Rama II Memorial Park อุทยาน รัชกาลที่ 2 (King Rama II Memorial Park)

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อยู่ติดกับวัดอัมพวันฯ และตลาดน้ำอัมพวา ลักษณะเป็นอาคารทรงไทยหลัง แบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ เช่น หอกลาง ภายในประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 2 และจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น เครื่องเบญจรงค์ เครื่องถ้วย หัวโขน ห้องชาย จัดแสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ มีพระพุทธรูปสำหรับบูชา รวมทั้งแท่นพระบรรทมซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ห้องหญิง แสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ชานเรือน จัดแสดงตามแบบบ้านไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ ห้องครัวและห้องน้ำ จัดแสดงลักษณะครัวไทยมีเครื่องหุงต้ม ถ้วยชามและห้องน้ำของชนชั้นกลาง
เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 8.7 km หรือ 15 นาที

ค่ายบางกุ้ง : Bang Kung Camp ค่ายบางกุ้ง (Bang Kung Camp)

ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที เมื่อมาถึงบริเวณค่ายจะมองเห็นแนวกำแพงจำลองสร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์จากการ สู้รบ ค่ายแห่งนี้เป็นค่ายทหารเรือไทยที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หลังจากเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้โปรดให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายที่ตำบลบางกุ้ง เรียกว่า ค่ายบางกุ้ง เนื่องจากเมืองแม่กลองเป็นเส้นทางที่กองทัพพม่าใช้ในการเดินทัพ โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่ายเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและ เป็นที่เคารพบูชาของทหาร พระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดให้คนจีนจากระยอง ชลบุรี ราชบุรีและกาญจนบุรีรวบรวมผู้คนมาตั้งเป็นกองทหารรักษาค่าย ค่ายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนี่งว่า “ค่ายจีนบางกุ้ง” พระองค์ทรงให้ชื่อทหารเหล่านี้ว่า “ทหารภักดีอาสา” ในปี พ.ศ. 2311 พระเจ้ากรุงอังวะทรงยกทัพผ่านกาญจนบุรี มาล้อมค่ายจีนบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชและพระมหามนตรี (บุญมา) ร่วมรบขับไล่กองทัพพม่าทำให้ข้าศึกแตกพ่าย นับเป็นค่ายทหารไทยที่สร้างความเกรงขามให้กองทัพพม่า สร้างขวัญกำลังใจให้คนไทยกลับคืนมา และเป็นสงครามครั้งแรกที่ไทยทำกับพม่าหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ค่ายบางกุ้งแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 200 ปี จนมาถึงปี พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตั้งเป็นค่ายลูกเสือขึ้น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระเจ้าตากสินมหาราช และได้สร้างศาลพระเจ้าตากสินไว้เป็นอนุสรณ์ โดยทำพิธียกศาลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ภายในบริเวณค่ายยังมีโบสถ์ที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ชาวบ้านเรียกว่า “โบสถ์หลวงพ่อดำ” มีลักษณะพิเศษคือ โบสถ์ทั้งหลังปกคลุมด้วยด้วยต้นไม้ถึงสี่ชนิด คือ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นไกร ต้นกร่าง ชาวบ้านเรียกว่าโบสถ์ปรกโพธิ์และไม่ไกลนักเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช
เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 12 km หรือ 24 นาที

อาสนวิหารแม่พระบังเกิด : The Church of the Virgin Mary อาสนวิหารแม่พระบังเกิด (The Church of the Virgin Mary)

โบสถ์นี้เป็นสถานที่สักการะอันศักดิ์สิทธิ์ของคริสต ชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) โดยบาทหลวงเปาโลซัลมอน มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ได้รับทุนสนับสนุนจากญาติพี่น้องของท่านในประเทศฝรั่งเศส คณะมิซซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส กรุงโรมและผู้ใจบุญในกรุงเทพฯ ใช้เวลาสร้างถึง 6 ปีจึงเสร็จสมบูรณ์ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิคของประเทศฝรั่งเศส ฉาบด้วยปูนตำ ภายในประดับด้วยภาพกระจกสีสวยงดงาม มีรูปปั้น ธรรมาสน์เทศน์ อ่างล้างบาป ขาเทียนลักษณะต่างๆ และรูปแกะสลักบรรยายเกร็ดประวัติในพระคัมภีร์คริสตศาสนา นับเป็นโบสถ์ที่มีความสวยงามไม่ไกลจากริมฝั่งแม่น้ำ การเข้าชมควรติดต่อขออนุญาตจากบาทหลวงผู้รับผิดชอบก่อนล่วงหน้า เพื่อติดต่อวิทยากรบรรยาย โทร. 0 3476 1347
เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 19 km หรือ 28 นาที


ดอนหอยหลอด : Don Hoi Lot ดอนหอยหลอด (Don Hoi Lot)

สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัด สมุทรสงคราม เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ทรายขี้เป็ด” ดอนหอยหลอดมีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 แห่ง แห่งแรก ได้แก่ ดอนนอก อยู่บริเวณปากอ่าวแม่กลอง เดินทางไปได้โดยทางเรือ ดอนใน อยู่ที่ชายหาดหมู่บ้านฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็ง และอีกแห่งคือ ชายหาดหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว สามารถเดินทางไปได้โดยทางรถยนต์ บริเวณสันดอนมีหอยอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ หอยหลอด หอยลาย หอยปุก หอยปากเป็ด หอยแครง แต่พบว่าหอยหลอดเป็นหอยที่มีจำนวนมากที่สุด จึงเป็นจุดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้หอยหลอดเป็นหอยชนิด 2 ฝา ตัวสีขาวขุ่น มีเปลือกคล้ายหลอดกาแฟ ฝังตัวอยู่ในเลน การจับหอยหลอด จะจับในช่วงน้ำลง โดยใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดก้านธูป จุ่มปูนขาว แล้วแทงลงไปในรูหอยหลอด หอยจะเมาปูนแล้วโผล่ขึ้นมาให้จับ ไม่ควรสาดปูนขาวลงบนสันดอน เพราะจะทำให้หอยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นตายหมด ช่วงเวลาเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวดอนหอยหลอด คือ ประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เพราะน้ำทะเลจะลดลงนานกว่าช่วงเวลาอื่น และสามารถมองเห็นสันดอนโผล่ขึ้นมา
เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 7 km หรือ 14 นาที

ตลาดน้ำท่าคา : Thaka Floating Market ตลาดน้ำท่าคา (Thaka Floating Market)

ตลาดช่วงเช้า ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา เป็นตลาดนัดทางน้ำที่ยังคงความเป็นธรรมชาติของวิถีชีวิตชาวบ้าน ซึ่งมีอาชีพทำสวนปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ชาวบ้านจะพายเรือนำผลผลิต พืชผักและผลไม้จากสวน เช่น พริก หอม กระเทียม น้ำตาลมะพร้าว ฝรั่ง มะพร้าว ชมพู่ ส้มโอมาขาย-แลกเปลี่ยนกัน เฉพาะในวันขึ้นหรือแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ 12 ค่ำ (ทุก ๆ 5 วัน) ตั้งแต่เวลาประมาณ 08.00 – 11.00 น.
เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 17.8 km หรือ 26 นาที


ตลาดร่มหุบ : Railway Fresh Market ตลาดร่มหุบ ตลาดริมทางรถไฟ (Railway Fresh Market)

ตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟแม่กลอง อำเภอเมือง ตลาดหุบร่มหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ตลาดเสี่ยงตาย หรือตลาดริมทางรถไฟ ตั้งขายอยู่ริมทางรถไฟใกล้สถานีรถไฟแม่กลอง ความยาวของตลาดประมาณ 100 เมตร บรรดาพ่อค้าแม่ค้าจะวางขายสินค้าบนพื้นจนติดกับรางรถไฟ เวลารถไฟมาก็ต่างหุบร่มที่กางและเก็บสินค้าภายในพริบตา จนเป็นที่มาของชื่อตลาดหุบร่มนั่นเอง สินค้าที่วางขายที่ตลาดแห่งนี้จะเป็นพวกผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ อาหารทะเลสด ๆ ขายกันในราคาไม่แพง จึงเป็นตลาดยอดนิยมของชาวบ้านบริเวณนั้นเพราะราคาถูกและคุณภาพดี ตลาดแห่งนี้เปิดขายทุกวันเวลา 6.00-18.00 น. เวลารถไฟวิ่งผ่านตลาดหุบร่ม วันละ 8 รอบ (โดยประมาณ) ดังนี้ 06.20, 08.30, 09.00, 11.10, 11.30, 14.30, 15.30 และ 17.40 น.
เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 1.6 km หรือ 4 นาที



แฝดสยาม อิน-จัน : Siamese Twin แฝดสยาม อิน-จัน (Siamese Twin)

สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่ฝาแฝดสยามอิน-จันที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยไปทั่วโลก ภายในบริเวณเป็นลานกว้างประดับด้วยต้นไม้ดอกไม้ อนุสรณ์แฝดสยามอิน-จันตั้งอยู่กลางลาน ด้านหน้ามีสระน้ำขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอาคารโถงจัดแสดงชีวประวัติของแฝดสยามอิน-จัน “แฝดสยามอิน-จัน” เกิดที่จังหวัดสมุทรสงครามเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 (ค.ศ. 1811) ประมาณปี พ.ศ. 2371-2372 (ค.ศ. 1828-1829) กัปตันคอฟฟินและฮันเตอร์เดินทางมาติดต่อการค้าที่แม่กลอง พบฝาแฝดคู่นี้จึงขอนำกลับไปอเมริกาและอังกฤษ เพื่อเปิดการแสดงในที่ต่างๆ เรื่องราวชีวิตของแฝดสยามอิน-จัน ฝาแฝดที่มีร่างกายท่อนบนติดกันและสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติยาวนานจน ถึงอายุ 63 ปี ได้รับการกล่าวขานทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในชื่อ “Siamese Twin”
เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 5 km หรือ 13 นาที


วัดเพชรสมุทรวรวิหาร : Wat Phet Samut Worawiharn Temple วัดเพชรสมุทรวรวิหาร หลวงพ่อบ้านแหลม (Wat Phet Samut Worawiharn Temple)

หลวงพ่อบ้านแหลม ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อวัดบ้านแหลมเป็น พระพุทธรูปสำคัญองค์ หนึ่งของไทย ซึ่งไม่ได้เป็นแค่ศูนย์รวมศรัทธาและที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวแม่กลองแห่ง สมุทรสงครามเท่านั้น แต่ยังเป็นที่เคารพสักการะอย่างกว้างขวางของชาวไทยทุกสารทิศมานานนับสมัยจน ถึงกับมีคำกล่าวว่า หากไม่ได้มานมัสการหลวงพ่อวัดบ้านแหลมก็เสมือนมาไม่ถึงเมืองสมุทรสงคราม เชื่อกันว่าหากได้มาสักการะปิดทองหลวงพ่อบ้านแหลม แล้วจะช่วยเสริมอำนาจบารมีแก่ชีวิต บังเกิดแต่ความเป็นสิริมงคลสืบไป หากใครอธิษฐานของพรหลวงพ่อไว้ในเรื่องใดก็มักจะได้สมความปรารถนาและมักจะ กลับมาแก้บนหลวงพ่อด้วยละครรำ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่ท่านโปรดปราน
เดินทางจากรีสอร์ทเพียง 1.8 km หรือ 5 นาที


บ้านครูเอื้อ…อัมพวา : Baan Kroo Uea Amphawa บ้านครูเอื้อ อัมพวา (Baan Kroo Uea Amphawa)

ก่อตั้งโดยมูลนิธิสุนทราภรณ์ โดยการนำอาคารไม้โบราณ ริมคลองอัมพวา อันเป็นถิ่นกำเนิดของครูเอื้อ สุนทรสนาน เมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงนิทรรศการประวัติผลงานของครูเอื้อ ศูนย์รวมข้อมูลสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจค้นคว้าเรื่องราวของเพลงสุนทราภรณ์ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เปิดให้แฟนเพลงเข้าไปนั่งฟังเพลง ค้นคว้า อ่านหนังสือ นอกจากนี้ยังแสดงของใช้ส่วนตัวของครูเอื้อ และภาพเก่า ๆ ที่หาชมได้ยาก รวมทั้งจำหน่ายของที่ระลึกและผลงานเพลงของครูเอื้อ สุนทรสนาน สถานที่แห่งนี้ยังนับเป็นส่วนหนึ่งใน “โครงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวอัมพวา” ของมูลนิธิชัยพัฒนา ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ อีกด้วย

วันไหว้ครู





ความหมายวันไหว้ครู
วันไหว้ครู เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สถาบันการศึกษาทุกระดับทุกแห่งจัดขึ้นในช่วงต้น ๆ ของปีการศึกษา สะท้อนถึงคุณค่าทางจิตใจของคนไทย
            - สะท้อนถึงความผูกพันใกล้ชิดระหว่างครูกับศิษย์
            - สะท้อนให้เห็นถึงความกตัญญูรู้คุณของสังคมไทยต่อผู้มีพระคุณ
            - สะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความเมตตา ของครูต่อศิกษย์
            - สะท้อนถึงความละเอียดอ่อนทางจิตใจ
            - แฝงสาระที่เป็นคติธรรมสอนใจมากมาย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วันไหว้ครู

วันไหว้ครู เป็นวันที่นักเรียนจะได้แสดงคุณธรรมในจิตใจ คือไหว้ครู คำว่า  ไหว้ครู  นั้น เป็นถ้อยคำธรรมดาสามัญที่เข้าใจกันอยู่ และทราบถึงความหมายกันเป็นอย่างดี แต่ก็จะขอขยายความคำว่า  ไหว้ครู  เพื่อประกอบความรู้และประดับสติปัญญาตามสมควร


ไหว้ครู เป็นคำไทย 2 คำ นำมาเชื่อมกัน คือคำว่า ไหว้  กับคำว่า  ครู  แต่ละคำมีความหมายอยู่ในตัว คำว่า ไหว้ ก็หมายถึงการแสดงสัมมาคารวะ การบูชา การแสดงความนับถือ การแสดงความเทิดทูน นี่เรียกว่า  ไหว้  เป็นคำกิริยาที่ใช้กันเป็นประเพณีนิยมของไทย และในบางกรณีคำนี้ ก็ย่อมจะกินความคลุมไปถึง กราบซึ่งในความหมายว่ายอมตนลงราบคาบด้วย เพราะฉะนั้นไหว้ก็ดีกราบก็ดี รวมอยู่ในความหมายอันเดียวกัน คือ แสดง ความยกย่อง แสดงอาการเชิดชูบูชานับถือ 

 ประโยชน์ของการไหว้ครู
          1. ผู้ไหว้ได้รับความเมตตาจากผู้ถูกไหว้ 
          2. ผู้ไหว้ได้รับความสบายใจ 
          3. ช่วยให้ผู้ถูกไหว้หันมาสำรวจตรวจตราพัฒนาตนเอง 
          4. ได้รักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยไว้ 

          5. บรรเทาโทษเสียได้ 

โบราณท่านกล่าวว่า "ศรต้องมีพิษ ศิษย์ต้องมีครู ศิษย์มีครูเหมือนงูมีพิษ ศิษย์ไม่มีครู เหมือนงูไม่มีพิษ" ไม่น่ากลัวอะไร ไม่ต่างอะไรกับปลาไหล รอเวลาให้เขาผัดเผ็ดเท่านั้น "ศิษย์ดีต้องมีคุณธรรม ศิษย์ไม่ได้ความคุณธรรมไม่มี" นักเรียนจะต้องรู้จักข้าว ข้าวรวงโตที่มีวิตามิน เวลามันออกรวง จะน้อมรวงถ่วงยอดแสดงอาการดุจคารวะแม่พระธรณี แต่ข้าวรวงใดที่ชี้เด่แทบจะทิ่มก้นเทวดา แสดงว่าข้าวรวงนั้นไม่มีวิตามิน เป็นข้าวขี้ลีบ คนก็เหมือนกัน หากรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน แสดงว่าเป็นคนมีคุณภาพเป็นผู้มีคุณธรรม บางคนเป็นโรคสันหลังแข็งก้มไม่ลง บุคคลนั้นไม่ต่างอะไรกับข้าวขี้ลีบ

แผนผังแสดงวงจรการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แผนผังแสดงวงจรการทำงานขั่้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์

เศรษฐกิจ

จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายใน เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตก สลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่ม สูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนด ชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้อง การต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่ เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี
พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง 

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
 
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่“ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่ เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อนเมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว
 
แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง
 
“...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)